วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10

ศาสนาสำคัญในประเทศไทย



1. ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสนาฮินดู (อังกฤษ: Hinduism) เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีคัมภีร์ศาสนาเรียกว่าพระเวท มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน
ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไปอ่านเพิ่ม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา



ความหมายของศาสนา      ในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ไม่มียุคสมัยใดและไม่มีเผ่าใดเลย ที่ไม่ นับถือศาสนา ศาสนาจึงมีอิทธิพลและแพร่หลายไปทั่วในสังคมมนุษย์ทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่สังคม ยุคดึกดำบรรพ์จนถึงยุคปัจจุบัน
  ศาสนาจึงเป็นคำมนุษย์คุ้นเคยได้ยินมานานและมีความหมาย มากที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุด อีกทั้งมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของมนุษย์มากที่สุดด้วย ดังนั้น จึงมี ความจำเป็นและสำอย่างยิ่งที่เราควรจะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงภูมิหลังของศาสนาต่างๆ  อ่านเพิ่ม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

 หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ



ชาวพุทธ คือ ผู้ที่เลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ประกอบด้วย นักบวช คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา โดยเรียกรวมๆว่า พุทธบริษัท 4 ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ                          1. กลุ่มสงฆ์ แยกเป็น พระภิกษุสงฆ์ และพระภิกษุณีสงฆ์
                        2. กลุ่มคฤหัสถ์ แยกเป็นอุบาสก และอุบาสิกา
                        ชาวพุทธทั้ง 2 กลุ่ม ต่างมีหน้าที่และบทบาทต่อพระพุทธศาสนาแตกต่างกัน ดังนี้
ชาวพุทธ คือ ผู้ที่เลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยประกาศตนเป็นพุทธมามกะ อ่านเพิ่ม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง

ประวัติพุทธสาวก  พุทธสาวิกา
  


๑)  พระอุบาลี      
   พระอุบาลี  เป็นบุตรช่างกัลบก  (ช่างตัดผม)  อาศัยอยู่ที่กรุงกบิลพัสดุ์  เมื่ออุบาลีเจริญวัยขึ้นก็ได้เป็นพนักงานภูษามาลา  (ช่างตัดผม)  ประจำราชสำนักพระเจ้าศากยะ 

ในขณะนั้นพระราชกุมารแห่งศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ได้ออกบวชด้วยกัน    องค์ และโกลิยวงศ์ได้ออกบวชด้วยกัน    องค์  คือ ภัททิยะ  อนุรุทธะ  อานนท์  ภัคคุ  กิมพิละและเทวทัต  โดยได้บวชในสำนักของพระพุทธเจ้าที่อนุปยนิคม  แคว้นมัลละ  อ่านเพิ่ม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

การบริหารจิตและเจริญปัญญา


การบริหารจิต  หมายถึง  การฝึกฝนอบรมจิตให้เจริญและประณีตยิ่งขึ้น  มีความปลอดโปร่ง มีความหนักแน่นมั่นคง   โดยเริ่มจากการฝึกฝนจิตให้เกิดสติและฝึกสมาธิให้เกิดขึ้นในจิต
           ในการที่จะให้จิตมีสติได้นั้น ผู้ฝึกต้องมีวิธีการดังนี้คือ  การตั้งใจให้มีสติปสัมปชัญญะอยู่เสมอ 
1.      การตั้งใจให้มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ  คือ  ผู้ฝึกจะต้องตั้งใจกำหนดรู้สึกตัวอยู่ทุกขณะไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องใคร่ครวญทำช้าๆ อย่ารวดเร็วเกินไป  อ่านเพิ่ม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต



พุทธศาสนสุภาษิต  หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา 
พุทธศาสนสุภาษิต : พระราชา
-  ราชา รฏฺฐสฺสปญฺญาณํ
พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
-  ราชา มุขํนุสฺสสานํ
พระราชาเป็นประมุขของประชาชน
พุทธศาสนสุภาษิต : ทรัพย์และอนิจจัง
        -  น จาปิวิตฺเตนชรํวิหนฺติ
กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้
       -  น ทีฆมายุง ลภเต ธเนน
คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์
    อ่านเพิ่ม

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

พุทธศาสนิกชนควรมีความรู้ในหลักธรรมที่เป็นพื้นฐานแห่งความเจริญแห่งชีวิต อันได้แก่ จักร 4 และทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 โดยสามารถนำปัญญาที่ประกอบด้วยธรรม คือ สัปปุริสธรรม 7 และมรรคมีองค์ 8 เข้าตรวจสอบคุณภาพชีวิตของตน สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต เพื่อความผาสุกแก่ตนเองและสังคม 


จักร แปลว่า ล้อรถ ล้อรถย่อมหมุนนำผู้ขับขี่รถไปสู่จุดหมาย ธรรมที่ได้ชื่อว่าจักร เพราะเปรียบเสมือนล้อรถ นำบุคคลผู้ปฏิบัติไปสู่ความเจริญ มี 4 ประการคือ 
1. ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในประเทศอันควร 
2. สัปปุริสูปสังเสวะ การคบสัตบุรุษ 
3. อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ 
4. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้กระทำบุญไว้ก่อน  อ่านเพิ่ม